ให้บริการ งานสิ่งพิมพ์หลากหลายรูปแบบ หลากหลายวัสดุ สินค้าพรีเมี่ยมสำหรับกิจกรรมทางการตลาด งานสแตนด์อะคริลิคดิสเพลย์ ป้ายไวนิล ให้คุณได้เลือกสร้างสรรค์ตามแบบที่คุณต้องการ และสามารถรองรับงานจำนวนมากของโรงงานได้

งานสกรีนมีกี่แบบ อะไรบ้าง

ปัจจุบันงานสกรีนได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น เนื่องด้วยสามารถสร้างชิ้นงานที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ออกแบบได้ตรงกับความต้องการของลูกค้า เป็นชิ้นงานที่หาซื้อที่ไหนไม่ได้ มีชิ้นเดียวในโลก เราจะมาดูกันว่า งานสกรีนนั้นมีกี่ประเภท งานสกรีนแต่ละประเภทเป็นอย่างไร ไปร่วมหาคำตอบพร้อมๆกันครับ

งานสกรีนมีกี่ประเภท

งานสกรีนโดยหลักๆแล้วจะมี 3 ประเภท คือ

1. งานสกรีนแบบ Silk Screen

เป็นการพิมพ์สกรีนโดยต้องใช้บล็อคในการสกรีน โดยกำหนดเป็น 1 สี ต่อ 1 บล็อค หากต้องการงานสกรีน 4 สี ต้องใช้ 4 บล็อค ซึ่งเหมาะกับการพิมพ์เสื้อ สกรีนเสื้อจำนวนมาก เนื่องจากเมื่อสร้างบล็อคขึ้นมาบล็อคนึงแล้ว สามารถนำไปสกรีนเสื้อได้จำนวนมาก

ข้อดี

สามารถสกรีนบนวัสดุได้หลากหลาย เช่น เสื้อผ้า ไม้ MDF เหล็ก ถุงผ้าดิบ พลาสติก และอื่นๆอีกมากมายเหมาะกับงานสกรีนในปริมาณมาก เนื่องจากต้นทุนต่อการสกรีนเสื้อ 1 ตัวจะถูกลงไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของขนาดงานสกรีน โดยสามารถกำหนดขนาดงานสกรีน ได้ตั้งแต่ 0.5 เซนติเมตร จนถึง 4 เมตร ซึ่งในกรณีที่งานสกรีนมีขนาดใหญ่ ขนาดบล็อคที่ใช้ต้องมีขนาดใหญ่ตามไปด้วย ซึ่งถ้าบล็อคมีขนาดใหญ่ ควรจะมีจำนวนชิ้นงานในปริมาณมาก เพื่อให้ต้นทุนต่อชิ้นงานนั้น ถูกลง

ข้อเสีย

เนื่องด้วยงานสกรีนแบบ silk screen เป็นการนำสีมาสกรีนตามบล็อคที่ได้สร้างไว้ งานสกรีนจึงมีโอกาสแตกลาย หรือหลุดลอกได้ หากไม่ดูแลรักษาหรือใช้งานผิดวิธี 

2. งานสกรีนแบบ Digital

เป็นการพัฒนาขึ้นไปอีกขั้น โดยใช้วิธีการสกรีนแบบพิมพ์ภาพลงไปยังเสื้อผ้าโดยตรงด้วยเครื่องพิมพ์เสื้อผ้าโดยเฉพาะ หรือเรียกอีกอย่างว่าระบบ DTG (Direct to Garment) ซึ่งจะได้งานสกรีนที่สวยงาม คมชัด ไร้ข้อจำกัดเรื่องสีของเสื้อที่ต้องการสกรีน เนื่องจากสกรีนได้บนเสื้อทุกสี ไม่ว่าจะเป็นเสื้อสีอ่อน หรือเสื้อสีเข้ม

ข้อดี

สามารถพิมพ์ลงบนเนื้อผ้าได้หลากหลาย ไม่จำกัดสี สามารถสกรีนได้หลากหลายสีสัน โดยไม่มีข้อจำกัด สามารถพิมพ์งานจำนวนน้อยได้ เนื่องจากเป็นการสกรีนลงบนเสื้อผ้าโดยตรง ไม่ต้องใช้บล็อคในการสกรีน

ข้อเสีย

ถ้าสกรีนงานในปริมาณมาก จะมีราคาสูงกว่างานสกรีนแบบซิลค์สกรีนและทรานเฟอร์

ขนาดงานสกรีนค่อนข้างจำกัด ไม่เกิน 50cm. x 50cm.

3. งานสกรีนแบบ Transfer, Sublimation, Flex โดยเครื่องรีดร้อน (Heat Press)

3.1 งานสกรีนแบบ Transfer

เป็นการสกรีนโดยพิมพ์ลวดลายหรือรูปภาพที่ต้องการสกรีนลงบนกระดาษทรานเฟอร์ ด้วยหมึก Pigment แล้วนำมาสกรีนบนเสื้อด้วยเครื่องรีดร้อน (Heatpress) โดยภาพหรือลวดลายบนกระดาษทรานเฟอร์ จะสกรีนติดลงบนเสื้อผ้าอย่างสวยงาม

ข้อดี

สามารถสกรีนจำนวนน้อยได้ ไม่จำกัดสีที่ใช้สกรีน สีเสื้อผ้าและเนื้อผ้า

ข้อเสีย 

ไม่ใช้สามารถใช้เตารีด รีดลงบนเสื้อด้านที่สกรีนภาพได้โดยตรง ต้องรีดโดยการกลับด้าน งานสกรีนมีโอกาสแตก หลุดลอก เนื่องจากเป็นการสกรีนโดยภาพหรือลวดลายติดอยู่บนพื้นผิวของเนื้อผ้า ไม่ได้ซึมซับเข้าไป เนื้องานสกรีนจะมีลักษณะแข็งๆ

3.2 งานสกรีนแบบ Sublimation

เป็นงานสกรีนโดยพิมพ์ลวดลายหรือรูปภาพที่ต้องการสกรีนลงบนกระดาษซับลิเมชั่น ด้วยหมึก sublimation โดยเฉพาะ แล้วนำมาสกรีนบนเสื้อผ้า แก้วเซรามิค ถุงผ้า พวงกุญแจ หรือวัสดุอื่นๆได้หลากหลาย ด้วยเครื่องรีดร้อน (Heat press) โดยสีซับลิเมชั่นเมื่อโดนความร้อน จะเกิดการระเหิดเข้าไปยังเนื้อผ้าหรือวัสดุที่ต้องการสกรีน ทำให้สีสันนั้นซึมซาบเข้าไปในเนื้องานสกรีน ทำให้ได้ชิ้นงานที่สวยงาม คงทน ไม่หลุดลอก

ข้อดี

สามารถสกรีนจำนวนน้อยได้ ไม่จำกัดสีที่ใช้สกรีน เนื้อผ้าที่สกรีนมีความอ่อนนุ่ม ใส่สบาย สีสันซึมซับเข้าใยผ้า หรือเนื้อวัสดุโดยตรง สามารถซักรีดได้ปกติ ไม่หลุดลอก

ข้อเสีย

มีข้อจำกัดในเรื่องของสีเสื้อผ้า และเนื้อผ้าที่ใช้ในงานสกรีน คือสามารถสกรีนได้เฉพาะเสื้อสีอ่อนและเนื้อผ้า TK (Polyester) หรือ TC (Polyester + Cotton) เท่านั้น ไม่สามารถสกรีนลงบนผ้าสีเข้มหรือเนื้อผ้าฝ้าย (Cotton 100%) เนื่องจากการระเหิดของสี ไม่สามารถซึมซับเข้าเนื้อผ้าฝ้ายได้

3.3 งานสกรีนแบบ Flex

เป็นงานสกรีนที่ใช้ควบคู่กับเครื่องตัด flex โดยเฉพาะ โดยออกแบบงานที่ต้องการผ่านโปรแกรมใช้งาน และสั่งตัดไปยังเครื่องตัด flex ซึ่งสามารถตัดวัสดุต่างๆ เช่น กำมะหยี่, PU, Polyflex ซึ่งสามารถตัดได้เองหรือนำตัวอักษรสำเร็จรูปมาใช้ได้ นิยมทำเป็นโลโก้หรือตัวอักษร แล้วนำมารีดร้อนลงบนวัสดุ หรือเสื้อผ้าด้วยเครื่อง Heatpress โดยความร้อนจะทำให้กาวด้านหลังกำมะหยี่, PU หรือ Polyflex ละลายและสามารถยึดติดกับวัสดุต่างๆหรือเสื้อผ้าได้

ข้อดี

ไม่ต้องใช้บล็อคสกรีน

สามารถสกรีนจำนวนน้อยได้ งานสกรีนมีความโดดเด่น สวยงาม เนื่องด้วยโลโก้หรือตัวอักษร นูนขึ้นมาเล็กน้อย สามารถสกรีนได้บนวัสดุที่หลากหลาย เช่น เสื้อยืด TK,TC,Cotton เสื้อโปโล ถุงผ้า หมวก

ข้อเสีย

งาน flex สามารถทำเป็นตัวอักษร ลวดลายกราฟิค หรือโลโก้ ซึ่งไม่สามารถนำภาพถ่ายมาทำการสกรีนแบบ flex ได้

4. งานสกรีนแบบ Vacuum (Sublimation)

เป็นการสกรีนในส่วนของ Sublimation อีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจะใช้วีธีอบความร้อนคล้ายเตาอบ และใช้วิธีการดูดอากาศออกเป็นระบบสูญญากาศ วิธีนี้ต้องใช้ตัวโมลด์ที่เหมาะสมกับวัสดุที่สกรีน โดยใช้กระดาษซับลิเมชั่นติดไว้ที่ตัววัสดุด้วยเทปกันร้อนก่อน จากนั้นทำการรัดตัวโมลด์กับตัววัสดุให้แน่น แล้วนำไปใส่ในเครื่อง Vacuum ที่ผ่านการอุ่นเครื่องมาแล้วไม่ต่ำกว่า 10 นาที ในส่วนของเคสมือถือจะมีโมลด์เฉพาะเคส เฉพาะรุ่น ให้ได้เลือกใช้งาน

ข้อดี

เหมาะกับงานสกรีนแก้วเซรามิค, เคสโทรศัพท์มือถือ, กระบอกน้ำ, จาน และวัสดุของแข็งต่างๆ สามารถสกรีนพร้อมกันในปริมาณมาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบเครื่อง Vacuum ที่ใช้

ข้อเสีย

ต้องใช้โมลด์ในการรัดหรือโอบรอบวัสดุให้แน่น ซึ่งวัสดุบางอย่างจะไม่มีโมลด์โดยเฉพาะ จึงจะต้องใช้เทปกันร้อนพันรอบๆวัสดุนั้นๆแทน ซึ่งจะใช้เทปในปริมาณมาก หากวัสดุนั้นมีขนาดใหญ่ ไม่สามารถใช้สกรีนบนผ้าได้ 

ทั้งนี้ หวังว่าข้อมูลดังกล่าว จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจในงานสกรีนนะครับ ไม่ว่าจะเป็นในฐานะผู้ซื้อหรือผู้ขาย


ขอขอบคุณ ที่มาของช่องYoutrue

 

 


งานด่วน!!! ไม่ต้องรอนาน ไม่มีขั้นต่ำ และสามารถรองรับงานโรงงาน